วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การแบ่งปันข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ต

การแบ่งปันข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ต
Peer to Peer คือระบบที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างกันหรือใช้ทรัพยากรร่วมกันผ่านระบบเครือข่าย หรือเป็นระบบสื่อสารจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยตรงเราสามารถดาวน์โหลดหรือทำสำเนาแฟ้มข้อมูลที่มี เพลง เกม หรือภาพยนตร์ลงมาบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ การดาวน์โหลดนี้โดยมากจะทำโดยใช้โปรแกรมแบ่งปันแฟ้มข้อมูลที่ทำมาโดยเฉพาะ (Kazaa, DirectConnect, BitTorrent, ฯลฯ) ซึ่งใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่าเครือข่ายเพียร์ทุเพียร์ (p2p) เพื่อที่จะดาวน์โหลดแฟ้มแฟ้มข้อมูลจากเครือข่ายเพียร์ทูเพียร์โดยทั่วไปแล้วเราต้องแบ่งปันการใช้แฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรากับผู้ใช้อื่นๆในเครืข่ายซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าในระหว่างกระบวนการนี้ผู้ใช้อาจทำการตั้งค่าให้สามารถเข้าถึงและทำสำเนาข้อมูลทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยไม่ได้ตั้งใจ
เครือข่ายเพียร์ทูเพียร์บางครั้งถูกใช้เพื่อการเผยแพร่เพลงและภาพยนตร์ที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องตรวจสอบความถูกต้องของไซต์สำหรับการดาวน์โหลดที่บุตรหลานต้องวางแผนจะใช้เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้รับสิทธิ์อย่างถูกต้อง หลักการทั่วไปก็คือถ้าไม่ได้จ่ายเงินสำหรับเครือข่ายเหล่านั้นมาก็จะดูเหมือนว่านั่นคือการดาวน์โหลดที่ผิดกฎหมาย



โปรแกรมประเภท Instant Messaging หรือ IM เช่น AIM,YIM และโปรแกรมยอดฮิต Msn ก็จัดอยู่ในประเภทเดียวกันกับโปรแกรม p2p ซึ่งในโปรแกรม IM ก็มีโอกาสจะติดไวรัสที่ถูกส่งมาจากคู่สนทนาที่กำลัง “Online” อยู่ในระบบ
ดังนั้นองค์กรจึงจำเป็นต้องควบคุมการใช้งานโปรแกรม IM โดยเฉพาะการอัพและดาวน์โหลดไฟล์ ผ่านทางโปรแกรมดังกล่าวก็ช่วยแก้ปัญหาความปลอดภัยได้ระดับหนึ่ง
ภัยร้ายที่แฝงมากับอินเทอร์เน็ต





Internet เป็นสื่อที่ใครๆก็สามารถเข้าถึงได้ เชื่อมต่อข้อมูลทั่วโลก จึงมีทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งไม่ดีรวมกันไว้ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ง่าย ทุกที่ ทุกเวลา ขอแค่มีสัญญาณ Internet อีกทั้งมีภัยหลากหลายรูปแบบซึ่งมิจฉาชีพจะอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายในการแสวงหาผลประโยชน์ในด้านต่างๆจากผู้ที่ใช้โลกออนไลน์อย่างไม่รู้ถึงการ ไม่ระมัดระวัง ซึ่งเป็นปัญหาระดับโลกที่ทุกประเทศ ทุกสังคมเคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาตามหาอีกมากมาย
ภัยออนไลน์
ปัญหาการล่อลวงทางอินเทอร์เน็ต จากการ chat ห้องสนทนา หรือ โดยใช้โปรแกรมสนทนาของเว็บไซต์ชื่อดังไม่ว่าจะเป็นในสื่อสังคมออนไลน์อย่างเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) จัดเป็นบริการออนไลน์ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ค (Facebook) มายสเปซ (MySpace) ทวิตเตอร์ (Twitter) หรือเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคมอื่นๆต่างก็มีลักษณะเด่นที่เหมือนกันในการเปิดให้สมาชิกสร้างแฟ้มประวัติส่วนตัวเป็นสเมือนอีกตัวหนึ่งบนโลกออนไลน์เพื่อใช้ปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกคนอื่นๆผ่านบริการช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายบนเว็บไซต์ เช่นการ chat หรือพูดคุยผ่านระบบเครือข่าย
CHAT ROOM
ภัยหลักทางอินเทอร์เน็ตต่อเด็กอีกประการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับห้องแชทรูม หรือสถานที่พลปะบนอินเทอร์เน็ต ผู้ที่ชื่นชอบการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กมักจะไปในแชทรูม ส่วนมากจะปลอมตัวเป็นเด็กเสียเอง และคอยหลอกล่อกับเด็กจริงๆโดยทั่วไปแล้ว บุคคลเหล่านี้จะพยายามโน้มน้าวให้เด็กออกไปยังพบปะในแชทรูมส่วนตัว เพื่อพูดคุยกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ส่วนมากบุคคลเหล่านี้ใช้เวลาในการพูดคุยกับเด็กนานพอสมควร จนกว่าเด็กจะไว้ใจ หลังจากนั้นก็พยายามหาทางนัดหมายให้เด็กออกมาพบกันจริงๆหรือทำให้เด็กส่งหรือรับภาพลามกให้อีกวิธีหนึ่ง ก็คือหาเด็กไม่ทันระวัง และให้

WEBCAM
คอมพิวเตอร์ปัจจุบันหลายๆเครื่องมีการเชื่อมต่อกับเว็บแคม เพื่อใช้ในการพูดคุยผ่าน Video Call ภัยที่เกิดขึ้นอาจมีแฮกเกอร์แอบเข้ามาสั่งเปิดให้เว็บแคมของเราทำงานโดยอัตโนมัติ เพื่อแอบดูพฤติกรรมของเรา ดังนั้นถ้าไม่ใช้ให้ถอดปลั๊กออก หรืออาจหลอกให้เราทำท่าทางต่างๆ เช่น เลื้องเสื้อผ้า ทำท่าประหลาด เป็นต้น

การป้องกัน
- อย่าเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่น อีเมล เบอร์โทรศัพท์ ชื่อและนามสกุลจริง
- ไม่นัดพบเพื่อน chat ลองพิจารณาดูว่ารู้จักเพื่อน chat ดีแล้วหรือยัง ระวังการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวระหว่างการ chat และปรึกษาผู้ปกครอง ครูในการนัดเจอเพื่อน แฟะ
- การรับ add คนแปลกหน้า หากเผลอรับ add อย่าใจอ่อนหลงเชื่อให้เบอร์โทรศัพท์หรือข้อมูลส่วนตัวไป, ให้เข้าไป profile แล้วคลิกปุ่ม remove from friends หรือแจ้งให้ทาง hi5/facebook บุคคลนี้จากการเข้า profile ของเรา
การเลียนแบบสื่อ
จากพฤติกรรมของวัยรุ่น หรือเยาวชนบริโภคสื่อทางโทรทัศน์ หรือสื่อด้านอื่นๆนั้น พ่อ แม่ ผู้ปกครองควรสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว ด้วยการชี้แนะว่าเนื้อหาเรื่องราวที่นำเสนอทางสื่อนั้นถูกผิดเป็นอย่างไร อย่าปล่อยเด็กๆไว้กับสื่อตามลำพัง ควรใส่ใจในการคอยให้คำแนะนำในขณะรับสื่อและถือโอกาสสอนไปด้วย นอกจากเด็กจะรับรู้ในการพิจารณาเรื่องราวนั้นแล้ว ยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัวอีกด้วย ในการสอนนั้นควรสอนให้เด็กรู้จักใช้เหตุผล พัฒนาความคิด วิจรณญาณให้มากๆ อย่าให้มองอะไรเพียงผิวเผิน สนับสนุนให้มีความเป็นตัวของตัวเอง โดยการอย่าเอาคนโน้นไปเปรียบกับคนนี้คนนั้น โดยเฉพาะค่านิยมความโก้หรูผ่านสื่อ เพราะคนเรามักมีความแตกต่างกัน เอกลักษณ์ของใครก็ของมันปราบใดที่ไม่ได้เบียดเบียนผู้อื่นหรือตนเอง ก็ควรสนับสนุนและยอมรับในเอกลักษณ์ของแต่ละคนที่สำคัญ ผู้ปกครอง ควรปูพื้นฐานความคิดให้เขาคิดอย่างถูกต้องซะก่อน เช่นสอนให้คิดอย่างมีเหตุผล พิจารณาจากหลายแง่มุม ด้วยใจที่เป็นกลางปราศจากอคติ ดูข้อมูลจากหลากหลายสื่อ ทั้งสื่อที่เอียงซ้าย เอียงขวา และเป็นกลาง แต่อย่างเพิ่งปักใจเชื่อ เมื่อได้ข้อมูลครบทุกด้านแล้วน่าจะทำให้เรามองเห็นภาพรวมคร่าวๆได้ เราก็ค่อยๆเอาข้อมูลมาประมวลผลพิจารณาไตร่ตรองแล้วค่อยตัดสินใจว่าจะเชื่อหรือ ไม่เชื่ออะไร
สำหรับไวรุ่นหรือเยาวชนนั้น ควรมีวินัยในการบริโภคข่าวสาร ด้วยการรับรู้ถึงการแยกแยะว่าอะไรควรจะรับไปปรับกับพฤติกรรมของเรา สร้างความใกล้ชิด และความเข้าใจกับการรับรู้ว่าพฤติกรรมนั้นถูกต้องหรือไม่ อะไรที่ควรหลีกเลี่ยงการเลียนแบบที่ส่งผลในแง่ลบกับตัวเรา ที่สำคัญที่กล่าวข้างต้น เราควรที่จะมีแบบฉบับของตัว ยึดมั่นในตัวตนของเรา อย่าได้ตามกระแสทางสังคมที่สื่อถ่ายทอด ที่มักมากับกระแสความหรูหรา เรื่องวัตถุนิยม เรื่องการชิงดีชิงเด่น การแก่งแย่งชิงดี ทำให้เราขาดความเป็นตัวของตัวเอง อันนำมาซึ่งการไร้ความสุ๘ในชีวิตประจำวัน
ตัวอย่างการเลียนแบบสื่อ
เลียนแบบดารา

การ์ตูนชกต่อย

การซื้อของผ่านอินเตอร์เน็ต

สื่อลามก

การป้องกัน
- พบเว็บไซต์ลามก ควรคลิกปิด pop-up ดังกล่าว ไม่ควรเข้าไปดูในเว็บไซต์ เพราะเป็นเว็บไซต์สำหรับผู้ใหญ่และอาจมีไวรัส
- ตั้งค่าคอมพิวเตอร์ป้องกัน pop-up
- อย่าปล่อยเด็กๆไว้กับสื่อตามลำพัง ควรใส่ใจในการคอยให้คำแนะนำในขณะรับสื่อและถือโอกาสสอนไปด้วย
- ปรึกษาผู้ปกครอง ครูถึงเหตุผลที่ทำไมจึงไม่สามารถเข้าเว็บไซต์ลามก
เกมส์ออนไลน์
เกมออนไลน์ (online game) หมายถึง วิดีโอเกมที่เล่นบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งเกมออนไลน์นี้ผู่เล่นสามารถที่จะสนทนา เล่น แลกเปลี่ยนไอเทมในเกมกับบุคคลอื่นๆในเกมนี้ได้ซึ่งเกมออนไลน์ได้รับความนิยมมากเนื่องจาก
1. ผู้เล่นได้เข้าถึงสังคมจึงรู้สึกสนุกที่จะมีเพื่อนเล่นเกมไปด้วยกันมากกว่าการเล่นเกมคนเดียว
2. เกมออนไลน์หลายเกมมีกราฟิกที่สวยงามมาก จึงเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้คนหันมาเล่นเกมออนไลน์
3. เกมออนไลน์มีกิจกรรมต่างๆรวมทั้งมีการเพิ่มแผนที่ในเกม อาวะ ชุด มอนสเตอร์ใหม่ๆและอื่นๆอย่างต่อเนื่อง

การป้องกัน
- ภัยเสี่ยงจากเกมออนไลน์ไม่ควรหลงเชื่อและโอนเงินไปให้ พึงระวังว่าไม่ควรหลงเชื่อเพื่อนแปลกหน้าบนโลกออนไลน์
Forward mail
ส่งต่ออีเมลผิดกฎหมาย ควรลบอีเมลนั้นทิ้งไป ไม่ควรส่งต่อ, ควรนึกว่าหากเป็นรูปภาพหรือคลิปส่วนตัวของเราหลุดไป ก็คงไม่อยากให้มีการส่งต่อเช่นเดียวกันดังนั้นควรช่วยยุติการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว

การโพสข้อความบน Web board
การเขียนหรือส่งข้อความให้ใช้ถ้อยคำหรือข้อความที่สุภาพที่สุด ไม่หยาบคายลามก อนาจารหรือเป็นถ้อยคำหรือข้อความที่ไม่เหมาะสมเกินที่สุภาพทั่วไปจะได้รับ เป็นต้น
การเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม
เผยแพร่ข้อความและเนื้อหาที่ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียหาย รำคาญใจ หรือก่อเกิดความรู้สึกไม่ดีต่อผู้อื่น หรือเผยแพร่ข้อความรูปภาพ ที่ส่อไปในเรื่องเพศ ลามกอนาจาร หรือขัดต่อศีลธรรมอันดี เป็นต้น การกด Like Share Tag จะทำให้ข้อมูลถูกกระจายไปเรื่อยๆ ทางที่ดีหากพบข้อมูลไม่เหมาะสมให้แจ้ง Web Master และโรงเรียนอาจช่วยสร้างข้อความเตือนบนหน้าเว็บ เช่น “หากมีการเผยแพร่บทความที่ไม่เหมาะสมจากบุคคลภายในโรงเรียนหรือนอกโรงเรียนก็ตาม ขอให้นักเรียนช่วยกันเป็นหูเป็นตาและรายงานให้ครูทราบด้วย และอาจพิจารณาจะบล็อคผู้ใช้ทันทีและจะไม่มีสิทธิ์เข้าใช้งานอีก”
Phishing : ตกปลาออนไลน์
Phishing  ก็เหมือนกับการตกปลาผ่านเหยื่อที่เรียกว่า “ของรางวัล”หรือหลอกให้ตกใจอย่าง”บัญชีของคุณกำลังมีปัญหา เพื่อหลอกให้คุณกรอกข้อมูลชื่อผู้ใช้งาน, รหัสผ่าน หรือแม้กระทั่งรหัสบัตรเครดิต โดยผู้ใช้มือถือมีความเสี่ยงต่อการถูก Phishing ได้มากกว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปถึง 3 เท่าจากผลสำรวจ

วิธีป้องกัน
- ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลชื่อบัญชี และรหัสผ่านของเรา ผ่านทางอีเมล
- อย่าเปิดลิงก์ที่แนบมาใน Email เพราะผู้โจมตีมีเทคนิคมากมายในการปลอมชื่อผู้ส่งให้เหมือนมาจากองค์กรนั้นจริงๆ
- อย่าดาวน์โหลด Application ที่ผิดกฎหมาย หรือไม่รู้ที่มาชัดเจน เพราะอาจแฝงไวรัสมาด้วย
- ช่วยกันเป็นหูเป็นตา และแจ้งข่าวสาร
Identity Theft : หัวขโมยตัวตนออนไลน์
อาชญากรพวกนี้ เอาข้อมูลของคุณมาใส่เป็นของตัวเองแล้วนำไปใช้โดยส่วนใหญ่จะนำข้อมูลส่วนตัวของคุณไปปลอมหลักฐานทางการเงินโดยเฉพาะในยุค 3G พบว่า ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ Smartphone มีโอกาสเสี่ยงโดนขโมยข้อมูลมากกว่าการใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์ถึง 3 เท่า และพบว่า 62% ของผุ้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ Smartphone ไม่ใส่รหัสผ่านหน้าจอแรกเข้าเนื่องจากคาดไม่ถึงว่าจะสามารถขโมยข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์มือถือได้

วิธีป้องกัน
- กำหนดรหัสผ่านเข้าใช้มือถือ และแท็บเล็ต
- ติดตั้ง Application ที่คอยช่วยเหลือด้านความปลอดภัย เช่น สามารถ Back up ข้อมูลในมือถือสู่คอมพิวเตอร์ หรือ Web Server
- หากจะทำธุรกรรม หรือให้ข้อมูลสำคัญออนไลน์ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ Wi-Fi สาธารณะ
- อย่าออนไลน์อย่าให้เบอร์บัตรเครดิตหรือรหัสสำคัญใดๆเวลาคุยออนไลน์เป็นเด็ดขาด เพราะอาจถูกมิจฉาชีพดักรอข้อมูลอยู่ได้
ภัยมือถือ

ภัยร้ายที่มากับมือถือได้หลากหลายรูปแบบที่จะก่อให้เกิดอันตรายแก่ผุ้ใช้งานเช่น
กลลวงเรียกเก็บค่าบริการ SMS โดยที่เจ้าของเบอร์ไม่ทราบมาก่อนว่าได้ไปสมัครไว้ และถูกตัดเงินอัตโนมัติ ทั้งมือถือแบบเติมเงิน และแบบจ่ายรายเดือนมือถือ อัตโนมัติเสียเงินไม่รู้ตัว
อัพเดทสถานะว่าตนเองอยู่ที่ไหน ทำให้คนร้ายรู้ว่าเราอยู่ไหน ทำอะไร
ทำร้ายร่างกาย ชิงมือถือ
การใช้งานอินเทอร์เน็ตให้ปลอดภัย
ในปัจจุบันมีผู้ใช้บริการ บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆทั่วโลก เพราะเป็นช่องทางที่สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงธุรกิจและพาณิชย์ในด้านต่างๆ ช่วยในเรื่องการลดระยะเวลาและต้นทุนในการสื่อสาร แต่อย่างไรก็ตามผู้ใช้โดยทั่วไป ยังไม่เห็นความสำคัญ ของการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยเท่าที่ควร เนื่องจากยังขาดความรู้ในการใช้งานและวีป้องกัน หรืออาจคิดว่าคงไม่มีปัญหาอะไรมาก ในการใช้งาน แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับตัวเองแล้ว ก็ทำให้ตนเองเดือดร้อน เราสามารถป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้ดังนี้
การกำหนดรหัสผ่าน
- รหัสผ่านที่มีความยาวอักขระอย่างน้อยแปดตัว
- ใช้ตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ตัวเลข รวมทั้งสัญลักษณ์ต่างๆประกอบกัน เช่น NetGen?2013
- ใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกันสำหรับเว็บไซต์
- ไม่ใช้ข้อมูลส่วนตัวที่ง่ายต่อการคาดเดา เช่น ชื่อผู้ใช้ ชื่อจริง หรือวันเกิด
- เปลี่ยนรหัสผ่านของคุณอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน

ออกจากระบบทุกครั้ง
- ออกจากระบบทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน
- เตือนเพื่อนให้ระวังอย่าลืมออกจากระบบทุกครั้งหลังเลิกใช้งานเพราะคนอื่นอาจใช้อีเมลของเราสวมรอยไปกระทำความผิดได้
- หากพบผู้ลืม Sign out ไม่ควรแอบอ่านอีเมลของผู้อื่นเพราะเสียมารยาท



ปิดเว็บบราวเวอร์ทั้งหมดที่เปิดใช้งานหลังจากที่ใช้งานเสร็จ
ให้ล้างบันทึกประวัติการใช้งาน (History settings) ในเว็บบราวเซอร์หลังจากทีใช้งานเสร็จแล้ว
ไม่อนุญาตให้เครื่องคอมพิวเตอร์จำรหัสผ่านให้ เช่น จะต้องคลิกตัวเลือกการจำรหัสผ่านออก
ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัวของตนเองและคนในครอบครัวให้ผู้อื่น เช่น สำเนาบัตรประชาชน เอกสารต่างๆรวมถึงรหัสบัตรต่าง เช่น เอทีเอ็ม บัตรเครดิต ฯลฯ
ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว
ไม่ควรดอนเงินให้ใครอย่างเด็ดขาด นอกจากจะเป็นญาติสนิทที่เชื่อใจได้จริงๆ
ไม่ออกไปพลเพื่อนที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต เว้นเสียแต่ว่าได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง และควรมีผู้ใหญ่หรือเพื่อนไปด้วยหลายๆคนเพื่อป้องกันการลักพาตัว หรือการกระทำมิดีมิร้ายต่างๆ
ระมัดระวังการซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงคำโฆษณาชวนเชื่ออื่นๆ เด็กต้องปรึกษาพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยต้องใช้วิจารณญาณ พิจารณาความน่าเชื่อถือของผุ้ชาย
สอนให้เด็กบอกพ่อแม่ผู้ปกครองหรือคุณครู ถ้าถูกกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต
ไม่เผลอบันทึกยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดขณะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ
ไม่ควรบันทึกภาพวีดีโอ หรือเสียงที่ไม่เหมาะสมบนคอมพิวเตอร์ หรือบนมือถือ
จัดการกับ Junk Mail จังค์ เมล์ หรือ อีเมล์ขยะ
จัดการกับแอดแวร์ สปายแวร์ ไวรัสคอมพิวเตอร์
ใช้ Adult Content Filter ในโปรแกรม P2P
กรองเว็บไม่เหมาะสมด้วย Content Advisor ในอินเทอร์เน็ต




 ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ,ARIT ,  ARIP  ,  ส.ค.พ.ท.